พื้นที่รับผิดชอบ

เขตรับผิดชอบ สถานีตำรวจภูธรหินซ้อน
ตำบลหินซ้อน

เป็นตำบลเหนือสุดของ อ.แก่งคอย เป็นตำบลเก่าแก่ตำบลหนึ่ง ตั้งขึ้นมาตั้งแต่ทางการประกาศใช้ พรบ.ลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ.2457 เดิมทีเดียวประชากรอยู่หนาแน่นเฉพาะหมู่ที่ 1,2 เท่านั้น สภาพพื้นที่เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และมีเทือกเขาสลับซับซ้อน มีสัตว์ป่าอาศัยมากมาย และติดกับแม่น้ำป่าสัก และเนื่องจากมีเกาะแก่งโผล่ขึ้นกลางน้ำแควป่าสัก และอยู่ใน ต.หินซ้อนหลายแห่ง วกวนไปตามไหล่เขา ด้านตะวันออกเฉียงเหนือหลายเทือกเขา จึงนำเอาหินที่สลับซับซ้อนเหล่านี้เป็นชื่อตำบล”หินซ้อน” สืบมาทุกวันนี้ อนึ่ง ต.หินซ้อน เคยเป็นตำบลที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ร.5) เคยเสด็จมาทางเรือตามลำน้ำป่าสัก จากท่าเรือสมัยที่ยังไม่ได้สร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ต่อมาเมื่อกำลังเลือกที่สร้างสถานที่เส้นทางทำทางรถไฟ พระองค์ทรงเสด็จมาอีกหลายครั้ง

สภาพทั่วไปของตำบล : แบ่งการปกครองออกเป็น 9 หมู่บ้าน มีพื้นที่ประมาณ 21,745 ไร่ หรือ 55.873 ตร.กม. เป็นที่ราบสูงมีภูเขาเป็นแนวยาวฤดูหนาวอากาศจะหนาวแต่ไม่จัด ส่วนฤดูร้อน อากาศจะร้อน

อาณาเขตตำบล : ทิศเหนือ ติดต่อกับ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ต.ท่าคล้อ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ต.แสลงพัน อ.วังม่วง จ.สระบุรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี

จำนวนประชากรของตำบล : จำนวนประชากรในเขต อบต. 3,511 คน และจำนวนหลังคาเรือน 665 หลังคาเรือน

ข้อมูลอาชีพของตำบล : อาชีพหลัก ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงโค
อาชีพเสริม ปลูกพืชอายุสั้น เช่น คะน้า ผักกาด ข้าวโพด ฝักทอง แตงกวา

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล : 1.ที่ทำการ อบต.หินซ้อน
2.สถานีอนามัยตำบลหินซ้อน
3.โรงเรียนสังกัด สปช. 2 แห่ง(ร.ร.บ้านหินซ้อน ร.ร.บ้านผังสามัคคี)
4.วัดทางพระพุทธศาสนา 7 แห่ง (วัดหินซ้อนใต้ วัดสาย 5 วัดนิคม ซอย 25 วัดถ้ำสีเขียว วัดวังม่วงน้อย วัดบ้านผัง วัดถ้ำญาณสังวร)
5.สถานีตำรวจ 1 แห่ง
6.ศูนย์ประสานองค์กรชุมชน 1 แห่ง

ตำบลท่าคล้อ :

ตำบลท่าคล้อ เดิมเป็นป่าใหญ่ล้อมรอบด้วยภูเขาสลับซับซ้อน ติดต่อกันเป็นเทือกเขายาวเหยียด สมัยก่อนบริเวณแห่งนี้อุดมสมบูรณ์ไปด้วยไม้ยืนต้นนานาชนิด เช่น ไม้เต็งรัง ไม้ยาง ไม้แดง ไม้มะค่า ไม้ประดู่ และสัตว์ป่าอาศัยอยู่มากมาย เมื่อความเจริญเข้ามาสภาพของตำบลท่าคล้อเริ่มเปลี่ยนแปลงไปต้นรัชกาลที่ 4 ได้มีการเสาะหาสถานที่สร้างเมืองสำรองเพื่อป้องกันข้าศึก พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระอนุชารัชกาลที่ 4 ได้เสด็จมาสร้างวังที่ตำบลบ้านสีทา นามว่า”พระบวรราชวังสีทา” จึงได้ออกสำรวจเอาบริเวณเขาในเขตตำบลนี้ ซึ่งมีลักษณะแปลกมีเทือกเขาไม่สูงนักติดต่อกันเป็นพืดกั้นเป็นปริมณฑล มีทางออกทางเดียวภายในหุบเขาพื้นราบซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่เศษ จึงเอาที่นี่เป็นที่ตั้งกองทัพฝึกพลรบ มีพลช้างไว้คอยป้องกันต่อสู้ข้าศึกอันอาจจะขึ้นมาจากทางทะเล ทางลาว ทางเขมร หรือญวนก็ได้ ที่นี่คือ บริเวณเขาคอก ซึ่งในปัจจุบันมีร่องรอยเทือกเขาเป็นปริมณฑลปรากฎให้เห็น เหตุที่เรียกตำบลท่าคล้อเพราะมีต้นไม้ปกคลุมมากมายและมีไม้หลายพันธุ์ มีชนิดหนึ่งที่เรียกว่าไม้ค้อ หรือไม้คล้อ เลยทำให้เรียกชื่อตำบลนี้ว่า “ตำบลท่าคล้อ”

สภาพทั่วไปของตำบล : ทีพื้นที่ 11,440 ไร่ เป็นที่ราบลุ่ม มีเทือกเขาติดต่อกันเป็นแนวยาว

อาณาเขตตำบล : ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหินซ้อน และอำเภอพัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี
ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสองคอน และตำบลท่าตูม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลหินซ้อน และตำบลบ้านป่า
ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหน้าพระลาน และอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี

จำนวนประชากรของตำบล : จำนวนประชากรในเขต อบต. 4,549 คน และจำนวนหลังคาเรือน 912 หลังคาเรือน

ข้อมูลอาชีพของตำบล : อาชีพหลัก ทำนา ทำไร่ ทำสวน
อาชีพเสริม ปลูกพืชอายุสั้น เช่น ทำสวนผักต่างๆ

ข้อมูลสถานที่สำคัญของตำบล : 1. ที่ทำการ อบต. 1 แห่ง
2. โรงเรียนสังกัด สำนักงานการประถมศึกษา 4 แห่ง
3. สถานีอนามัย 2 แห่ง
4. วัด 10 แห่ง และสำนักสงฆ์ 2 แห่ง
5. ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร 1 แห่ง
6. ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้และฝึกอาชีพ 1 แห่ง

แหล่งท่องเที่ยว

ถ้ำถนนเขาด่าน

ขึ้น ทะเบียนเป็นโบราณสถานประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 วันที่ 8 มีนาคม 2478 มีพระพุทธรูปภายในถ้ำ นักท่องเที่ยวนิยมไปสักการะพระพุทธรูปในถ้ำ

ถ้ำผาหลุบ

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน เมื่อปี พ.ศ.2478 เป็นถ้ำธรรมชาติภายในถ้ำเป็นแอ่ง

เขาคอก
เป็น เทือกเขาภายในหุบเขามีพื้นที่ราบ มีซากกำแพงเหลืออยู่ประมาณ 10 เมตรสร้าางในสมัยรัชกาลที่ 4 เพื่อกั้นช้างม้าที่ปล่อยเลี้ยงในหุบเขามิให้ออกมา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ศิลปวัตถุ โบราณวัตถุและการพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ พ.ศ.2477